Domains ทำไมเราต้องมีก่อนที่จะเริ่มทำเว็บไซต์

ชื่อโดเมนเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตเฉพาะของเว็บไซต์ ประกอบด้วยสามส่วน ได้แก่ โดเมนบนสุด Top-Level Domain (บางครั้งเรียกว่าส่วนขยายหรือส่วนต่อท้ายโดเมน) ชื่อโดเมน Domains name (หรือที่อยู่ IP) และโดเมนย่อย Subdomain โดเมนทั้งสามตัวเป็นส่วนหนึ่งของ URL ของเพจ

Top Level Domain หรือ TLD

Top Level Domain หรือ TLD สามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบ คือ

1. gTLD (generic TLD)

  • รูปแบบปกติ .com .net .org .biz .info สามารถจดตั้งชื่อเมนได้ ตั้งแต่นิติบุคคลและบุคคลธรรม
  • รูปแบบเฉพาะ .edu .gov .mil .int เป็นชื่อโดเมนที่มีความเฉพาะเจาะจงและบ่งชี้คุณสมบัติโดยตรง

2. ccTLD (country code TLD)

เป็นการแบ่งแยกตามโซนประเทศ ซึ่งตอนนี้มีมากกว่า 250 ccTLD เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของ TLD ยกตัวอย่างเมื่อชื่อโดเมนนั้นถูกตั้งที่ประเทศไทยก็จะเป็น .th ส่วนของประเทศญี่ปุ่นก็จะใช้เป็น .jp ซึ่งเงื่อนไขในการจดทะเบียนก็จะถูกแบ่งออกตามนี้

ccTLD ที่ทั่วโลกสมารถจดใช้ได้ จะมี  .tv .to .cc ไม่จำเป็นว่าผู้จดทะเบียนโดเมนนี้จะอาศัยอยู่ในประเทศนั้นหรือไม่
ccTLD แบบเจาะจง .jp .au .us ผู้จดทะเบียนโดเมนต้องอาศัยอยู่ในประเทศนั้น จึงจะสามารถจดทะเบียนโดยใช้ชื่อโดเมนนั้นได้

โดเมนย่อย subdomain

หลายคนที่เป็นมือใหม่ในการทำเว็บไซต์อาจจะกำลังสงสัยว่า Subdomain นั้นหมายถึงอะไร แต่สำหรับบางท่านนั้นก็อาจรู้จักอยู่แล้ว เมื่อเว็บไซต์ของเรามีการตั้งชื่อโดเมนหลัก สิ่งที่สำคัญลองลงมาก็คือโดเมนย่อยนั้นเองหรือที่เราเรียกว่า Subdomain ซึ่งบทความที่เรานำมาให้ทุกคนได้อ่านนี้จะเป็นการอธิบายความหมายเชิงลึกลงไปอีกเกี่ยวเรื่องขอโดเมนที่คนทำเว็บต้องรู้จักกัน

Subdomain โดเมนย่อย จะคอยทำหน้าที่แบ่งหมวดหมู่ของเนื้อหาบนเว็บไซต์ให้เป็นระเบียนแลพชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทำให้ Ai ประมวลผลได้ง่ายและผู้ใช้จำเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ได้ดีขึ้น ยกตัวอย่าง SubDomain ของ news.yahoo.com คือคำว่า news เป็นต้น

การตั้งชื่อโดเมนเนม

การตั้งชื่อโดเมนเนมจะสามารถเลือกใช้ได้แค่ อักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข (- ยัติภังค์) และขั้นด้วย (.มหัพภาค) เท่านั้น ซึ่งความยาวของชื่อนั้นสามารถเลือกตั้งได้ตั้งแต่ 1 – 63 ตัวอักษร จะตั้งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่หรือตัวพิมพ์เล็ก AI Google ก็จะอ่านเป็นตัวเดียวกัน

เมื่อได้โดเดมนมา เราก็จะเริ่มการติดตั้งเข้าไปที่โฮสติ้ง ซึ่งทำให้เราสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ได้ง่ายมากขึ้น ในกรณีที่ไม่มีโดเมน วิธีเข้าเว็บไซต์ก็ต้องใช้เลขไอพีของเว็บโฮสติ้งแทน เช่น http://12.98.345.43/~username/ เป็นต้น

หลังจากที่ได้เรียนรู้บทความเกี่ยวกับ Domains โดเมนแล้ว เชื่อได้เลยว่าทุกคนจะสามารถเป็นผู้สร้างเว็บไซต์ที่มีคุณภาพออกมาได้อย่างแน่นอน เราหวังทุกครั้งที่ได้ทำบทความ Content ใหม่ขึ้นมาจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านได้มากที่สุด และสิ่งที่ดีมากกว่าทฤษฎี คือการลงมือปฏิบัติ หากไม่ลองแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าทฤษฎีที่พูดมานั้นดีจริงหรือไม่