Google SERP คืออะไรและทำไมจึงสำคัญสำหรับ SEO

ทุกครั้งที่เข็มเวลาเดินไปข้างหน้า Google เองก็เดินหน้าพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน วิธีการทำให้ SEO ติดอันดับหน้าแรกของ Google ต้องอาศัยความเข้าใจรูปแบบที่หลากหลาย องค์ประกอบหรือขั้นตอนในการทำก็เปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาของ Google ที่ต้องการแสดงผลการจัดอันดับที่ดีขึ้น การเปลี่ยนแปลงของเนื้อหาต่างๆ ในบทความ รวมถึงข้อมูลและความรู้ตลอดจนเทคนิคในการทำ SEO นั้นมีมากมาย กลยุทธ์มากมายที่ถูกเติมเต็มลงไปในโลกออนไลน์นั้นก็มีอยากอย่างแพร่หลาย สามารถศึกษาค้นคว้าเทคนิคต่างๆ ได้อยู่ตลอดเวลาจะให้ใช้เวลาทั้งปีก็ไม่สามารถอ่านความรู้ทั้งหมดได้อย่างแน่นอน แต่สิ่งที่จะทำให้คุณนั้นก้าวหน้าคือการลงมือทำเท่านั้น

เมื่อเริ่มก้าวเข้ามาทำงานเกี่ยวกับ SEO สิ่งที่หลายๆคนนั้นมองข้ามมันไป และเลือกที่จะจัดอันดับในการเรียนรู้ไว้ท้ายสุดก็คือเรื่องของ Google SERP จึงทำให้มือใหม่หลายคนสงสัยว่า SERP คืออะไร และสำคัญกับ SEO มากขนาดไหน เรามาทำความรู้จักไปพร้อมๆ กันดีกว่า

ความหมายของ SERP และสิ่งที่ควรรู้

Serp Search Engine Results Page

SERP ย่อมาจาก Search Engine Results Page ซึ่งก็คือเครื่องมือการแสดงอันดับบน Search Engine ถ้าแปลความหมายอย่างตรงตัว Google SERP อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือหน้าเว็บ Google ที่แสดงผลการค้นหา เมื่อเราพิมพ์หาข้อมูลต่างๆ รายการของหน้าเว็บที่แสดงบน Google จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

  • Organic SERP Listings – เป็นการแสดงผลลัพธ์ที่แสดงตามการจัดอันดับตามธรรมชาติ
  • Paid SERP Listing – ผลลัพธ์ที่แสดงโดยการโฆษณากับ Google หรือที่เรียกว่า Sponsored Links

การวิเคราะห์ SERPs เพื่อทำ SEO

เมื่อคุณต้องการที่จะเป็นระดับอาชีพของการทำ SEO การวิเคราะห์ SERPs เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างมาก โดยทั่วไปการวิเคราะห์ SERPs มักหมายถึงการดูรายละเอียดในเชิงลึก ใช้ดูการเคลื่อนไหวของผลอันดับลิงค์ที่แสดงในหน้าแรกของ Google (อันดับ 1 – 10) ใน (Keyword) คำหลักที่เราค้นหา สามารถช่วยให้เราเจาะข้อมูลเชิงลึกได้ง่ายมากยิ่งขึ้น รู้สึกหลักการและสาเหตุที่ลิงค์เหล่านั้นติดอันดับ

เรื่องสำคัญที่มักได้จากการวิเคราะห์ SERPs มีดังนี้ Page Authority (PA), Domain Authority (DA), คีย์เวิร์ด,  Page Rank เป็นต้น สามารถเลือกเครื่องมือในการดูได้ มีตั้งแต่แบบที่ต้องเสียเงินซื้อและแบบฟรี ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นก็จะไม่ค่อยแตกต่างกันมากเท่าไหร่

เครื่องมือ (ฟรี) สำหรับเช็ค SERPs

SEOQUAKE
SEOquake สามารถดูได้ตั้งแต่ PR , Title, Meta Description, Keyword, Heading, Text Ratio
MozBar เครื่องสำหรับ Page และ Domain Authority และ Links

การใช้ SERPs เพื่อช่วยวิเคราะห์ข้อมูลคู่แข่ง

SERPs ช่วยให้เราประเมินความคุ้มค่าในการเข้าร่วมแข็งขันได้ เนื่องจากเป็นการวิเคราะห์คู่แข็ง เพื่อทำการประเมินตัวเองว่าสามารถสู่ไหวหรือไม่ การประเมินแบบเจาะลึก สามารถช่วยให้เราเก็บข้อมูลและนำไปต่อยอดได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งจะคลิกดูแต่ละอันดับ และเริ่มเก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ทำการวิเคราะห์ว่าทำไมเว็บไซต์นี้หรือเพจนี้ถึงติดอันดับ? นอกจากนี้ยังเป็นการค้นหาแนวคิดแบบใหม่ในการนำไปใช้ กับเว็บไซต์ของตัวเองด้วย สิ่งที่สนใจเป็นพิเศษมีดังนี้

  1. การตั้งชื่อ (Title)
  2. การเขียนคำอธิบาย Meta Description
  3. ตำแหน่งคำหลัก การวาง Keyword ในตำแหน่งต่างๆ
  4. เนื้อหาของบทความ
  5. ขนาดความยาวของเนื้อหา
  6. โครงสร้างของบทความ
  7. โครงสร้างของเว็บไซต์ทั้งหมด
  8. Links เข้า Links ออก วางไว้ตำแหน่งไหนบ้าง
  9. องค์ประกอบอื่น ๆ เช่น รูปภาพ ,คลิป ,โซเชียล

ไม่มีใครสามารถทำเรื่องที่ไม่ถนัดได้ตั้งแต่ครั้งแรก ทุกครั้งที่จะเริ่มทำอะไรสักอย่างมนุษย์เราก็มักจะมองหาตัวอย่างอยู่เสมอ เมื่อต้องการเรียนรู้เรื่อง สิ่งที่สอนเราได้ดีที่สุดคือมีครูสอน แต่สิ่งที่เรากำลังเรียนรู้อยู่ในขนาดนี้ไม่มีครูสอน ต้องทำความเข้าใจด้วยตัวเอง ถ้าอยากเก่ง ต้องหมั่นจดจำ คอยสังเกต และนำไปปฏิบัติ ผิดบ้างถูกบ้าง และเราจะเก่งขึ้นมาเอง โดยใช้วิธี “ครูพักลักจำ

สอบถามบริการเพิ่มเติม

สำหรับการเรียนรู้เกี่ยวกับ SEO ก็เหมือนกับเรื่องที่ได้เขียนไปข้างต้น. ดูจากคนที่ประสบความสำเร็จ (ผลลัพธ์ของ SERPs) แล้วเอามาเป็นแม่แบบหรือตัวอย่าง เริ่มทำการค้นหาแนวคิดแบบใหม่ วิเคราะห์ นำข้อมูลต่างๆมาเปรียบเทียบ ลงมือทำจริง เท่านี้ก็ช่วยให้เราเข้าใจเกี่ยวกับ Google มากขึ้น อย่างน้อยที่สุดเราก็ได้รู้จักคู่แข่งของเรามากกว่าเดิม

การนำเอาผลจาก SERPs มาวิเคราะห์ เป็นขั้นตอนพื้นฐานในการเริ่มทำ SEO เลยก็ว่าได้ โดยพื้นฐานแล้วอาจเป็นเพียงการดูวิธีปรับแต่ง Onpage ของคู่แข่ง แต่เมื่อเริ่มมีความชำนาญมากขึ้นแล้วก็ลองขยับ เจาะลงในรายละเอียด ทั้ง Content ทั้ง Web Structure และตัว Onpage SEO เอง ก่อนจะเริ่มตั้งคำถามและข้อสังเกตที่เราได้เห็นมา เริ่มหาคำตอบให้คำถามเหล่านั้น ก่อนที่จะลงมือปรับใช้ให้เหมาะกับงานของตัวเอง วิธีนี้สามารถทำให้เราเห็นถึงผลลัพธ์ได้ดียิ่งกว่าการอ่านทฤษฎี เข้าไปเรียนรู้เสริมพื้นฐาน แต่ไม่ลงมือปฏิบัติ